DGA
“FUTURE LAB RESEARCH”
Segmentation : การให้ความสำคัญกับนโยบายรัฐบาลดิจิทัลสามารถแบ่ง Segmentation กลุ่มเป้าหมายออกได้เป็น 5 กลุ่ม โดยคนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมการสำรวจเป็นกลุ่ม “Enhance” ที่มองว่าเป็นนโยบายที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและทำธุรกิจของคนในเมือง
Game Changer Demographic :
เพศชายอยู่ในกลุ่มนี้สัดส่วนเด่นกว่าภาพรวม
ส่วนใหญ่อายุอยู่ในช่วง Gen X (43-57 ปี) และพบว่า Gen Z (18-25 ปี) และ Baby Boomer (56 ปีขึ้นไป) มีสัดส่วนสูงกว่าภาพรวม
ส่วนใหญ่เป็นคนกรุงเทพฯ อย่างโดดเด่น รองลงมาคือต่างจังหวัดภาคเหนือ และภาคใต้ ภาคเหนือมีสัดส่วนโดดเด่นกว่าภาพรวม
คนที่อยู่ต่างจังหวัดส่วนใหญ่อยู่อำเภอเมือง
ส่วนใหญ่สมรสมีบุตร รองลงมาคือโสด และสมรสไม่มีบุตรตามลำดับ
กลุ่มรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ อาชีพอิสระ และนักเรียนนักศึกษาโดดเด่นในกลุ่มนี้
เป็นพนักงานบริษัทเอกชนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย
ส่วนใหญ่จบปริญญาตรี รองลงมาคือปริญญาตรี จบปริญญาโทน้อยกว่าค่าเฉลี่ย จบปริญญาเอกมากกว่าค่าเฉลี่ย
ส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ในช่วง 10,000 บาทหรือน้อยกว่า และมากกว่าค่าเฉลี่ย รองลงมาคือ 30,000 – 50,000 บาท อันดับสามคือรายได้อยู่ในช่วง 20,000 – 30,000 บาท
Behavior & Focus :
โดยรวมมีระดับความถี่ในการใช้งานธุรกรรมออนไลน์ค่อนข้างสูงในหลายด้าน
ให้ความสำคัญกับความเหลื่อมล้ำทางสิทธิสวัสดิการประชาชน
และการมีส่วนร่วมโปร่งใสตรวจสอบได้ของประชาชนอย่างโดดเด่น
ให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพการให้บริการแก่ประชาชนด้วย เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างโดดเด่น
ให้ความสำคัญกับ การเชื่อมโยงข้อมูลและระบบการทํางานระหว่างกันของหน่วยงาน อย่างโดดเด่น
Enhance Demographic :
สัดส่วนเพศชาย และเพศหญิงพอๆ กัน
พบทุกช่วงวัยในสัดส่วนพอๆ กัน
สัดส่วนของคนที่ภูมิลำเนาต่างจังหวัดสูงกว่าภาพรวมเล็กน้อย สัดส่วนของคนกรุงเทพฯ ต่ำกว่าภาพรวมเล็กน้อย
คนที่อยู่ต่างจังหวัดส่วนใหญ่อยู่อำเภอเมือง
ส่วนใหญ่สถานะเป็นโสด รองลงมาคือสมรสมีบุตร
รับราชการ/ รัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน มีสัดส่วนในกลุ่มนี้โดดเด่นกว่าภาพรวม
ส่วนใหญ่จบปริญญาตรี รองลงมาคือปริญญาโท
ส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ในช่วง 30,001 – 50,000 รองลงมาคือ 10,000 บาทหรือน้อยกว่า อันดับสามคือ 20,000 – 30,000 บาท
Behavior & Focus :
โดยรวมมีระดับความถี่ในการใช้งานธุรกรรมออนไลน์ค่อนข้างสูงในหลายด้าน
ให้ความสำคัญกับความเหลื่อมล้ำทางสิทธิสวัสดิการประชาชน, การมีส่วนร่วมโปร่งใส ตรวจสอบได้ของประชาชน และสุขภาพและการแพทย์
ให้ความสำคัญกับ “การยกระดับคุณภาพการให้บริการแก่ประชาชนด้วย เทคโนโลยีดิจิทัล”, “บริการดิจิทัลภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว เพื่อความสะดวก รวดเร็ว” และ “ลดความเหลื่อมล้ําในการเข้าถึงบริการและสวัสดิการของประชาชน”